วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กว่าจะเป็นแรงงานไทยหัวใจต้องแกร่ง


                                           

      
                 ปัญหาใหญ่แรงงานไทยนอกระบบ

โดย : นางสาวดุจเดือน   เบ็ญจรูญ 
รหัสนิสิต : 52010119016

“แรงาน” เปรียบเสมือนแขนขาของประเทศ  เพราะเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญของกระบวนการผลิตในสาขาต่างๆ   ทุกวันนี้ประเทศไทยมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆมีผลทำให้เกิดภาวการณ์แย่งงานกันและสุดท้ายก็นำไปสู่ปัญหาการว่างงาน  จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าแต่ละปีมีแรรงงานที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไปที่ไม่เข้ารับการศึกษาก็จะมาเป็นแรงงานตามตลาดแรงงานอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ไม่ว่าจะเป็น โรงงานต่างๆ   และสถานให้บริการต่างๆ ด้วยความจำเป็นทางเศรษฐกิจพวกเขาเหล่านั้นให้แรรงงานเหล่านี้ต้องออกมาทำงานหนักแลกกับค่าแรงเพียงเล็กน้อยหรือค่าแรงที่ไม่คุ้มค่าบางครั้งก็ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างผู้ประกอบการ ในทามกลางสภาพทางเศรษฐกิจที่ไม่มีใครกล้ารับประกันความมั่นคงทางการเงินและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมได้


 



ปัจจุบันจำนวนแรงงานในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเนื่องมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการทางการเงินเพิ่มขึ้นอีกเช่นกัน  ซึ่งแรงงานในประเทศไทยในปัจจุบันแบ่งออกเป็น  2  ระบบ  คือ แรงงานในระบบ  และ  แรงานนอกระบบ ประเภทที่หนึ่งแรงงานในระบบ  เป็นผู้ที่มีรายได้ประจำเดือนที่แน่นนอน  หรือเรียกอย่างหนึ่งว่า “มนุษย์เงินเดือน” โดยแรงงานเหล่านี้จะทำงานเป็นเวลา  มีสวัสดิการที่ดีรองรับจากภาครัฐและภาคเอกชนเจ้าของกิจการ  ส่วนแรงงานประเภทที่สองคือ  แรงงานนอกระบบ  เป็นพวกที่ทำงานอิสระ  ไม่มีสวัสดิการรองรับ  ค่าแรงต่ำรายได้ไม่แน่นอน  ไม่มีการจ้างงานที่สม่ำเสมอ  เช่น  รับจ้างทั่วไป  เกษตรกร  แม่ค้า  ช่างซ่อมรถ  ช่างผม  ซึ่งแรงงานประเภทที่สองจะมีรายได้และสวัสดิการที่แตกต่างจากกลุ่มที่หนึ่งอย่างสิ้นเชิง
ในส่วนของแรงงานในระบบไม่น่าจะเป็นห่วงมากเท่าไหร่นัก  เพราะแรงงานกลุ่มนี้มีสวัสดิการที่ดีรองรับจากทางภาครัฐแล้ว  แต่ส่วนที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ  “แรงงานนอกระบบ”  แรงงานกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะประสบปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบจ้างนายจ้างผู้ประกอบการ  ส่งผลในการดำรงชีวิตของแรงงานเหล่านี้อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อระบบบรรทัดฐานทางสังคมซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อสังคมในภายภาคหน้าได้
“แรงงานนอกระบบ” เป็นกลุ่มแรงงานที่มีขนาดใหญ่มีซึ่งมีจำนวน  2 ใน 3 ของแรงงานทั้งหมดถ้ารับร่วมประชากรที่เป็นแรงงานทั้งในและนอกระบบ   จากการรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติว่า  แรงงานส่วนใหญ่นั้นจะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   เพราะที่ภาคอีสานมีจำนวนประชากรที่มีจำนวนมาก  และมีความต้องการใช้แรงงานสูงในภาคของการเกษตร  จากการรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจตั้งแต่ปี  2548  - 2553 พบว่า  แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของแรงงานนอกระบบอย่างต่อเนื่อง  และเป็นที่น่าตกใจว่าแรงงานส่วนนี้ไม่มีการศึกษาและการศึกษาในระดับประถมศึกษามาเป็นอันดับหนึ่ง  ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการศึกษาในประเทศไทยยังไม่เข้มงวด  และด้วยภาวะทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำทำให้ประชาชนต้องหยุดเรียนและออกมาขายแรงงานตามตลาดแรงงานส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมตามมา
จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า  แรงงานนอกระบบทั่วประเทศที่พบมากที่สุดคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อันดับที่สองคือ ภาคเหนือ  อันดับที่สามคือ ภาคกลาง อันดับที่สี่คือ  ภาคใต้  และสุดท้ายคือกรุงเทพมหานครดังกราฟที่ 1 กราฟแสดงจำนวนแรงงานนอกระบบทั่งประเทศ โดยจำแนกเป็นภาคดังต่อไปนี้
จากกราฟที่ 1 จะเห็นได้ว่าภาคอีสานมีจำนวนแรงงานนอกระบบมากเป็นอันดับหนึ่ง   คือ 41.6%เพราะว่าภาคอีสานมีการทำการเกษตรเป็นจำนวนมาก ทำให้ความต้องการในด้านการใช้แรงงานมีมากกว่าทุกภาค อันดับที่สองเป็นภาคเหนือคือ 21.3% เพราะภาคเหนือก็มีการทำการเกษตรมากเช่นเดียวกันอีกทั้งยังเป็นเมืองท่องเที่ยวอีกด้วย  อันดับที่เป็นภาคกลาง คือ 18.8%  เพราะในภาคกลางก็มีการทำการเกษตรเช่นกันแต่มีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการเกษตรแทนแรงงานคน  อันดับที่สี่ภาคใต้ คือ 12.9% แรงงานส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคการประมง และและภาคบริการในการท่องเที่ยว  และสุดท้ายคือกรุงเทพมหานคร  5.4% 0จะเห็นว่ากรุงเทพมหานครเพียงมือเดียวก็มีจำนวนแรงงานนอกระบบเทียบจะเท่ากับแรงงานในภาคใต้ก็เพราะว่า ในกรุงเทพมหานครมีจำนวนประชากรแฝงอยู่เป็นจำนวนมากและอีกอย่างหนึ่งความเป็นเมืองหลวงทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าจึงดึงดูดให้ประชาชนเข้ามาทำงานที่เมืองหลวง
โดยผลการสำรวจล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2553  พบว่าจำนวนแรงงานนอกระบบทั้งหมด  พบว่า  มากว่าครึ่งหนึ่งของแรงงานนอกระบบ  ทำงานในภาคการเกษตรกรรม  รองลงมาเป็นภาคการค้าลารบริการ  และสุดท้ายคือภาคการผลิต    ดังกราฟที่  2 แสดงจำนวนแรงงานนอกระบบ
จากกราฟที่ 2 จะเห็นว่าแรงงานที่ทำงานในภาคการเกษตรมีจำนวนมากกว่าครึ่ง คือ 60% ได้แก่ การทำนา ทำไร่ ทำสวน   การประมง ฯลฯ รองลงมาคือ ภาคของการบริการ คือ 31.4% ได้แก่ แม่ค้า ช่างซ่อมรถ ช่างเสริมสวย ช่างรับเหมา คนขับรถรับจ้าง ฯลฯ และสุดท้ายภาคการผลิตคือ  8.6% ได้แก่ภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจค้าปลีกและส่ง ฯลฯ
จากการสำรวลพบว่าสถานการณ์ปัจจุบันแรงงานนอกระบบในประเทศไทยประสบปัญหามากมายเนื่องจากว่าขาดการดูแลของทางภาครัฐทำให้แรงงานเหล่านี้ไม่รู้ว่าจะหันหน้าไปพึ่งฝ่ายใดถึงจะได้รับความยุติธรรมทางสังคม  นอกจากนี้แรงงานเหล่านี้ยังประสบกับบัญหาที่ว่านายจ้างรับแรงงานต่างชาติหรือแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานแทนแรงงานไทย  เพราะค่าแรงถูกกว่าและปัญหาที่ตามมาคือ เกิดเป็นปัญหาสังคม และทำให้คนในประเทศไม่มีงานทำหรือหางานทำได้ยาก เป็นปัญหาที่รอการแก้ไขอย่างเร่งด่วน  เพื่อเป็นการสกัดกั้นไม่ให้เกิดการค้าแรงงานข้ามชาติ  ซึ่งปัญหาระดับชาติที่ยังเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก  คนไทยบางรายถูกหลอกให้ไปทำงานที่ต่างประเทศสุดท้ายก็โดนนายหน้าโกงจนหมดตัว
โดยปัญหาที่แรงงานนอกระบบพบมากและอยากให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือเป็นอันอันดับต้นๆ ก็คือ  ปัญหาค่าตอบแทนน้อย  ไม่ได้รับการจ้างงานที่ต่อเนื่อง  ทำงานหนักมากเกินไป  ไม่มีสวัสดิการรองรับ  และอื่นๆ  ซึ่งกราฟที่  3  เป็นการแสดงปัญหาที่เกิดกับแรงงานนอกระบบ  ดังต่อไปนี้
จากกราฟที่  3  จะเห็นว่าปัญหาที่พบมากที่สุดของแรงงานนอกระบบ คือ  ปัญหาค่าตอบแทนน้อย 48.5%  โดยแรงงานจะถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างเพราะไม่มีการคุ้มครองจากภาครัฐ  อันดับที่สองคือ ไม่ได้รับการจ้างงานที่ต่อเนื่อง  21.5% เพราะเมื่อหมดฤดูกาลแล้วก็จะไม่มีการจ้างงาน  เช่น  การจ้างงานในภาคการเกษตร  ทำให้แรงงานขาดรายได้และไม่มีรายได้ที่ต่อเนื่อง  ลำดับที่สามคือทำงานหนัก  5.2% เนื่องค่าแรงน้อยทำให้แรงงานต้องเพิ่มระยะเวลาในการทำงานเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนในการทำงานในจำนวนที่มากและเพียงพอต่อความต้องการ  ลำดับที่สี่คือ ไม่มีสวัสดิการ 5.2% เพราะไม่ได้รับการคุ้มครองจาการประกันสังคม  และอื่นๆ 5.8%  เช่น  ไม่มีวันหยุด  ทำงานไม่ตรงเวลา  พักผ่อนไม่ได้  และชั่วโมงงานมากเกินไป
จากปัญหาในข้างต้นที่พบกับแรงงานนอกระบบ  ทำให้แรงงานนอกระบบประสบปัญหาอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้  โดยทางภาครัฐต้องเข้ามาดูแลและให้ความช่วยเหลือแรงงานเหล่านี้เพื่อลดภาระของปัญหาสังคมในด้านการใช้แรงงาน  อีกทั้งต้องให้ความเท่าเทียมกันในสังคมระหว่างแรงงานในระบบและแรงงานนอกระบบเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในการใช้แรงงาน  แรงงานนอกระบบของไทยมีจำนวน 2 ใน 3 ของแรงงานทั้งหมด และปัญหาที่ตามมา คือ แรงงานนอกระบบมักเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยและไม่แน่นอน แต่กลับไม่ได้รับการช่วยเหลือ และคุ้มครองจากรัฐบาลทั้งด้านกฎหมายแรงงานและประกันสังคม เนื่องจากรัฐบาลไม่มีฐานข้อมูลจากคนกลุ่มนี้ ทำให้กำหนดมาตรการช่วยลงไปถึงคนกลุ่มนี้ได้ยาก ตัวอย่างที่เห็นชัด คือ แรงงานนอกระบบไม่มีการเก็บสถิติ  ไม่มีจำนวนที่ชัดเจน  ไม่มีการกรอกประวัติการทำงานที่แน่นนอน  ทำให้ภาครัฐเข้าแก้ปัญหาในจุดนี้ได้ยาก  ซึ่งเป็นปัญหาที่รอการแก้ไขเพื่อให้แรงงานนอกระบบมีสิทธิประโยชน์เหมือนกลุ่มคนที่อยู่ในระบบและที่สำคือเพื่อลดแนวโน้นของการเพิ่มจำนวนแรงงานนอกระบบลงอีกด้วย
ข้อเสนอแนะ
1.ภาครัฐต้องเพิ่มสวัสดิการให้กับแรงงานนกระบบ เช่น ที่อยู่อาศัย การเข้ารับการรักษาฟรีในสถานบริการของรัฐ
2.จัดต้องกองทุนเงินกู้สำหรับแรงงานนอกระบบที่ประปัญหาการว่างงาน พร้อมทั้งเก็บดอกเบี้ยในอัตราที่มีความเหมาะสมกับรายได้
                3.ทางภาครัฐต้องส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของประชาชน เพื่อรองรับปัญหาการว่างงาน
                4.ทางภาครัฐต้องเข้ามาช่วยเหลือในส่วนของค่าแรงงขั้นต่ำให้เหมาะสมกับใช้แรงงาน



เอกสารอ้างอิง

http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/BaseStat/basestat.html
สืบค้นวันที่  20  มกราคม  2554

2 ความคิดเห็น: