วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554


ลายขาวดำทำให้คนเป็นโรค
โดย :  นางสาวศิริภรณ์   ไชยอุป
รหัส  52010119056
                    โรคไข้เลือดออก  ที่พบในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงเกิดจากเชื้อไวรัส  dengue  ซึ่งนับว่าเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและการแพทย์  เพราะมีผู้ป่วยปีละเป็นจำนวนมาก  และผู้ป่วยไข้เลือดออกอาจเกิดจากภาวะช็อก  ซึ่งทำให้ถึงเสียชีวิตได้รวดเร็ว  ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและการดูแลอย่างถูกต้อง
                          ไข้เลือดออกเดงกี  มีอาการเป็นรูปแบบที่ค่อนข้างชัดเจน  คือมีไข้สูงลอย  ร่วมกับอาการเลือดออก  ตับโต  และมีภาวะช็อกในรายที่มีอาการรุนแรงในระยะมีไข้จะมีอาการต่างๆแจะมีลักษณะเฉพาะของโรค  คือ  มีเกล็ดเลือดขาวต่ำและมีอาการรั่วของพลาสมา  ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของโรคไข้เลือดออกเดงกีสามารถตรวจพบได้จากการที่มีระดับสูงขึ้น  มีน้ำในเยื่อหุ้ม  ช่องปลอดและช่องท้อง

                                 ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด  หรือ ช็อก  มักจะเกิดช่วงไข้จะลด  เป็นระยะที่มีการรั่วของพลาสมา  ซึ่งจะพบทุกรายในผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกีประมาณใน3ของผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกีไจะมีอาการรุนแรงซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆกับที่มีไข้ลดอย่างลวดเร็วเวลาที่เกิดช็อกจึงขึ้นอยู่กับระยะเวลามีไข้  อาจเกิดได้ตั้งแต่วันที่3ของโรคผู้ป่วยจะมีอาการเลวลงเริ่มมีอาการกระสับกระส่ายมือเย็นชีพจรเบาเร็วความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง  ผู้ป่วยไข้เลือดอกเดงกีจะอยู่ในภาวะช็อกส่วนใหญ่จะมีภาวะรู้สติดี   พูดรู้เรื่อง ในรายที่ไม่รุนแรงเมื่อไข้ลดลงผู้ป่วยอาจจะมีมือเท้าเย็นเล็กน้อยร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของชีพจร  และความดันเลือด  ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงในระบบการไหลเวียนของเลือด  เนื่องจากมีการรั่วของพลาสมาออกไป  แต่รั่วไม่มาก  จึงไม่เกิดทำให้ภาวะช็อก ผู้ป่วยเหล่านี้   เมื่อให้การรักษาในระยะสั้นๆก็จะดีขึ้นอย่างลวดเร็ว

                                โรคไข้เลือดออก  เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายบ้านตัวเมียบินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก  โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง  เชื้อไวรัสเดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ8-10วัน  เชื้อไวรัสเดงกีจะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง  เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื่อสู่คน  เชื้อจะอยู่ในร่างกายของคนประมาณ2-7 วันในช่วงที่มีไข้นั้น หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น  ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก  โรคนี้ระบาดในฤดูฝน  และยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันส่วนใหญ่ลูกน้ำยุงลายบ้านจะอยู่ในภาชนะขังน้ำชนิดต่างที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งที่อยู่ภายในบ้านและบริเวณรอบๆบ้าน
โอ่งน้ำดื่มน้ำใช้บ่อซีเมนเก็บน้ำในห้องน้ำ  ถ้วยหล่อขาตู้กับข้าวกันมด  แจกันจานรองกระถางดอกไม้กันมด  ยางรถยนต์  แต่ไม่ชอบวางไขในท่อระบายน้ำ  ห้วย  หนอง คลอง  บึง                  
                     สถานการณ์โรคไข้เลือดออกแสดงผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่วประเทศพบมากที่สุดคือ  ภาคใต้   รองลงมาคือภาคกลาง  ตามด้วยภาคเหนือ  และสุดท้ายคือ  ภาคอีสาน  ดังกราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกทั่ว
       ประเทศ  โดยจำแนกเป็นภาคดังต่อไปนี้


                                                                                                                                   หน่วยต่อคน
                       จากกราฟที่  1 จะเห็นได้ว่าภาคใต้  มีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกมากเป็นลำดับที่หนึ่งมีจำนวนผู้ป่วย  110.12  ราย   อัตราป่วย  รองลงมา คือภาคกลางมีจำนวนผู้ป่วย 89.27ราย  อัตราป่วย  ตามด้วย  ภาคเหนือมีจำนวนผู้ป่วย 86.87ราย  อัตราป่วย  และสุดท้ายคือภาคสานมีจำนวนผู้ป่วย 56.26 ราย  อัตรา  ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคใต้เพราะมีการแพร่ระบาดของโรคอย่างกว้างขวางของไวรัสเดงกี
                   จากการกระจายของโรคพบว่ามีอัตราการตายจากโรคนี้ลดลงอย่างชัดเจนส่วนใหญ่จะพบจากภาวะช็อกที่รุนแรงในระยะมีไข้  ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว   ดังกราฟที่  2 แสดงจำนวนอัตราการตายจากโรคไข้เลือดออก
                      
                                                                                                                                       หน่วยต่อคน
                จากกราฟที่  2  จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่ภาคใต้จะมีอัตราการตายของผู้ป่วยไข้เลือดออก มากที่สุดคือ  37% รองลงมาเป็นภาคเหนือที่มีอัตราการตาย คือ  29%  ตามด้วยภาคกลางมีอัตราการตาย  คือ  23% และสุดท้าย  คือ  ภาคอีสานมีอัตราการตาย  คือ  11%
                 จากการศึกษาพบว่าอัตราการตายของผู้ป่วยไข้เลือดออกในแต่ละภูมิภาคมีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสภาพภูมิอากาศ และการจัดการในด้านสาธารณสุขหรือการเอาใจใส่ของประชาชนเอง  เช่น  การทิ้งขยะไม่เป็นที่ทำให้เป็นบ่อเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายจนทำให้เกิดเป็นโรคไข้เลือดออกในที่สุด
              อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องส่วนอัตราป่วยตายโรคนี้ลดลงอย่างชัดเจน  ซึ่งแสดงให้เห็นว่า  การพัฒนาสาธารณสุขดีขึ้นตามลำดับ  ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลทันเวลาทำให้สามารถลดหรือป้องกันการเสียชีวิตได้มากขึ้น  ซึ่งกราฟที่  3  เป็นการแสดงอัตราการป่วยตาย   ดังต่อไปนี้


                                                                                                                                       หน่วยต่อคน
                 จากกราฟที่  3 จะเห็นได้ว่าภาคใต้  มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด  คือ  อัตราการป่วย  ตาย  คือ 110.12  ราย  คือ  0.3  ราย  รองลงมา  ภาคเหนือ  มีอัตราการป่วยตาย  คือ  86.87 ราย  ต่ออัตราการอัตราการตาย  คือ  0.1  ตามด้วยภาคอีสาน  คืออัตราการป่วยตาย  คือ  56.26 รายอัตราการตาย  คือ  0.40 ราย  และภาคอีสานอัตราการป่วยตาย  คือ  8.27 ราย  อัตราการตาย  คือ  0.80 ราย
   จากการศึกษาพบว่า  อัตราป่วยสะสมมากที่สุด  คือ  ภาคใต้เป็นส่วนใหญ่ในการแพร่ระบาดไข้เลือดออกมากที่สุดในประเทศไทยเพราะทางภาคใต้มีฝนตกชุกมากซึ่งก่อให้เกิดโรครวมไปถึงการดูแลทางด้านสาธารณสุขดูแลไม่ถั่วถึง
                  จากสถานการณ์ข้างต้นเมื่อพิจารณาในระดับภาคต่างๆ  พบว่า  มีบางภาคได้เกิดสถานการณ์โรคเกิดการระบาดแล้ว  จากการเทียบจากกราฟ  เมื่อพิจารณาสถานการณ์โรคจากกราฟที่ 1-3  พบว่าภาคที่จะกำลังเริ่มมีจำนวนผู้ป่วย / อัตราที่เพิ่มมากขึ้นจะเป็นภาคใต้  รองลงมาเป็นภาคเหนือ  จึงเป็นภาคที่น่าจะให้ความสนใจ  อย่างไรก็ตาม  ภาคที่สถานการณ์ยังไม่เป็นเช่นเดียวกัน  กับภาคที่กล่าวมาแล้ว  ก็ควรจะให้ความสำคัญ  เช่นเดียวกัน  หากจำนวนผู้ป่วยในช่วงปีมีมาก  ซึ่งจะเป็นสัญญาณบอกให้เร่งรัดมาตรการเฝ้าระวัง  สอบสวน  และควบคลุมโค  เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดที่รุ่นแรง  เน้นความสำคัญกับการรายงานผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมง  ตั้งแต่กรณีสงสัยและให้มีการเฝ้าระวัง  เพื่อการพยากรณ์การระบาด  และการค้นหาพื้นที่เสี่ยง  หากมีผู้ป่วยเกิดขึ้นในหมู่บ้านโดยเฉพาะ 1-3 รายแรก  ให้สอบสวนยืนยันว่า  เป็นผู้ป่วยไข้เลือดออกเหลือไม่  และค้นหาแหล่งติดเชื้อให้ได้เป็นการติดเชื้อในพื้นที่หรือติดเชื้อจากพื้นที่อื่น  และต้องรีบดำเนินการป้องกันควบคลุมโรค

                 ข้อเสนอแนะ
1.  สร้างทีมงาน  ซึ่งรวมทั้งด้านระบาดและควบคลุมป้องกันโรค  ในระดับตำบล  อำเภอ และจังหวัด  เพื่อเฝ้าระวังโรค  สอบสวน และควบคลุมโรค
2.  ทางสาธารณสุขต้องมีการควบคลุมและป้องกันทุกๆของแต่ละเดือนมีการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์
    3.  ติดตามการกระจายของผู้ป่วยตามสถานที่ เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่ระบาดของโรค


เอกสารอ้างอิง
        กรมควบคุมโรคติดต่อ, กระทรวงสาธารณสุข. โครงการร่วมระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อการควบคุมโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพ: เอกสารพิมพ์, 2535     http://www.siamsealts.net/net/tublic_stm/biseafe/infectiof/dsf.stm


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น